Tuesday, April 30, 2013

Dhamma together:คนไทยหรือเปล่า...ถ้าเป็นคนไทย...ต้องเป็นไทนะ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ก่อนจะเข้าเนื้อหาธรรม ต้องถามกันก่อนว่า 

เราคนไทยหรือเปล่า...

(ให้ดูคลิป 20 นาที)

 

"ถ้าเป็นคนไทยต้องเป็น"ไท"นะ หรือว่ายังเป็นทาสอยู่

ที่ผ่านมา เราอาจจะยังไม่เป็นไท เราอาจเป็นทาสสุรา 

บุหรี่ facebook, I Phone, I Pad, กระเป๋าหลุย อยู่ก็ได้

ประกาศอิสรภาพได้ภาพได้แล้ว....

เขาประกาศเลิกทาสตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว

ผ่านมาตั้ง 200 ปีแล้ว...

น่าจะเป็นไทเสียที...."

พระอาจารย์นวลจันทร์

กิตติปัญโญ

Monday, April 29, 2013

Dhamma together:ความเจ็บไข้ได้ป่วย...ความผิดพลาดที่ต้องแก้ไข

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

 "ความเจ็บป่วย...เป็นเครื่องเตือนใจว่า...

 เราดำเนินชีวิตอะไรผิดพลาดสักอย่างหนึ่ง...

 เช่น เราอาจจะนอนน้อยไป พักผ่อนน้อยไป

 กินอาหารไม่ถูก หรือว่า

 อยู่ในสถานที่ที่ไม่ถูกหลักสุขอนามัย

 มันคือสัญญาณที่บอกว่า 

 มันมีความผิดพลาดที่ต้องแก้ไข..."

พระไพศาล วิสาโล

Sunday, April 28, 2013

Dhamma together:คิดก่อนพูด...ยังไม่พอ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

“สิ่งหนึ่งที่พี่อยากจะบอกทุกคนนะครับ

คิดนะครับก่อนที่จะพูด แต่ว่าณ ปัจจุบันนี้

มันต้องคิด คิดเสร็จแล้วต้องคิดซ้ำอีกที

เอาให้แน่ใจแล้วค่อยพูดนะครับ 

อย่าพูดออกมาพล่อยๆ บางครั้งนะครับ

ดาบนั้นคืนสนอง แล้วบางครั้งมันหนัก

ไม่ใช่เรื่องของกฎหมายหรือสังคมลงโทษ

มันเป็นเรื่องของบาปกรรมด้วย ณ ปัจจุบัน

คนที่ทำอะไร จัญไรมันเยอะๆ แล้วคนเหล่านี้

ก็เริ่มทยอยรับกรรมแล้ว บางคนอาจจะสร้างบุญกุศล

ความดีมาก่อนหน้านี้ แต่ถ้าเขาเริ่มจัญไรเมือ่ไหร่

ก็ต้องเริ่มจ่ายคืน เป็นอย่างนั้นนะครับ...."

 

 

เพชร มาร์

พิทรี่ วิคเตอร์ เอดวาร์ด มาร์

The Star Commentator

Friday, April 26, 2013

/ พิมพ์การ์ตูนธรรมะ..กันนะคะ

  
พลอยจ๋าขอเชิญเพื่อนๆ
ร่วมพิมพ์การ์ตูนธรรมะ หลวงพี่เอี้ยง-วัดมะนาวหวาน
บริจาคเป็นธรรมทานแก่ห้องสมุดโรงเรียนทั่วประเทศด้วยกันนะคะ..
 
ตัวอย่างการ์ตูนหลวงพี่เอี้ยง-วัดมะนาวหวาน ที่เคยนำมาลงในบล็อคบ้านพี่พลอย
.. การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง..
  สวัสดีค่ะทุกๆ คน ^^
       พลอยจ๋าหายไปเกือบปีเลยนะคะ  วันนี้แวะเข้ามาฝากข่าวบุญช่วยประชาสัมพันธ์เชิญชวนกัลยาณมิตรเว็บบล็อกบ้านพี่พลอยร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนธรรมะหลวงพี่เอี้ยง วัดมะนาวหวาน ลิขสิทธ์ของ คุณอิศรา สุคงคารัตนกุล เว็บไซต์ธรรมะ budpage   ซึ่งน้องกาปูน เว็บลานธรรม เป็นผู้ริเริ่มจัดพิมพ์รวมเป็นรูปเล่มและบริจาคไปยังห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ตามรายละเอียดดังต่อไปนนี้นะคะ
       การจัดพิมพ์หนังสือนั้นจะพิมพ์เป็น 4 สี จำนวน 48 หน้า โดยจะทำการแจก ณ ห้องสมุด่ของโรงเรียน หรือวัดเฉลี่ยสถานที่ละ 2 เล่ม หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับจำนวนการบริจาคเงินและยอดการของรับบริจาคหนังสือค่ะ ซึ่งต้นทุนการพิมพ์และค่าจัดส่งเป็นตามรายละเอียดดังนี้
       ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูนธรรมะหลวงพี่เอี้ยง วัดมะนาวหวาน
     
       ธนาคารกสิกรไทย  สาขาวงศ์สว่าง
       บัญชีชื่อ  นางสาวกฤติยา  ชุมเพชร  (กาปูน-ลานธรรม)
       บัญชีออมทรัพย์เลขที่   779-2-07912-6
     
       ตรวจสอบรายชื่อผู้บริจาค และยอดการบริจาคได้ที่นี้ค่ะ  หลวงพี่เอี้ยง วัดมะนาวหวาน
ทั้งนี้นอกจากรับบริจาคเงินสมทบทุนแล้ว โรงเรียนหรือวัดที่ต้องการขอรับบริจาคหนังสือการ์ตูนธรรมะหลวงพี่เอี้ยง วัดมะนาวหวาน ยังสามารถส่งชื่อและที่อยู่ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กาปูน ประชาสัมพันธ์นะคะ  kaapoon@hotmail.com
ส่วนตัวพลอยจ๋า กำลังช่วยรวบรวมจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่สนิทรักใคร่กันคาดว่าจะโอนสมทบทุนภายในสิ้นเดือนกันยานี้ค่ะ เนื่องจากแวะเข้าไปดูตัวเลขการบริจาคยังน้อยมากๆ จึงอยากขอเชิญชวนบอกบุญเพื่อนๆ เว็บบล็อกบ้านพี่พลอยทุกคนและขออนุญาตส่งเมลอีกครั้งนะคะ คนละนิดหน่อยหนึ่งร้อยสองร้อยก็ได้ค่ะ เพียงแค่คิดจะทำและลงมือบริจาคแม้เพียงน้อยนิดก็เป็นบุญกุศลติ� ��ตัวมหาศาลไปทุกภพชาติแล้วค่ะ รวมสะสมบุญพร้อมๆ กันนะคะ 
..ธรรมะรักษาสวัสดีค่ะ
พลอยจ๋า ..บ้านพี่พลอย   23 กันยายน 2552 / 00.08 น.
 อานิสงส์ของการแจกหนังสือธรรมะ สร้างพระพุทธรูปหรือสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพระธรรมคำสอน..

อานิสงส์จากการจัดสร้างพระพุทธรูปหรือจัดทำสิ่งพิมพ์อันเกี่ยวกับพระธรรมคำสอน
1.  อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
2.  สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย
3.  เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิกเว้นการจองเวร
4.  เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษ เสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย
5.  จิตใจสงบ ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล
6.  มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
7.  คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา
8.  คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชาย
9.  พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาเลิศล้ำ บุญกุศลเรืองรอง
10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พ บเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างอเนก ทุกชาติของผู้สร้างที่เกิด จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า ปัญญาในธรรมแก่กล้า สามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ
อานิสงส์ของการแจกหนังสือธรรมะเป็นทาน
1.  กุศลจะเบียดเบียนอกุศลเมื่อเราทำเป็นนิจ
2.  หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์
3.  โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป
4.  สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน
5.  วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่
6.  กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา
7.  บุตรจะเฉลียวฉลาดเจริญรุ่งเรือง
8.  บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข
9.  พ่อแม่จะอายุยืน ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี
10.วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมาน ไปสู่สุคติ

อานิสงค์จากการพิมพ์หนังสือธรรมะ แจกเป็นวิทยาทาน

พุทธพจน์

".....ดูกรสุภูติ หากชายคนหนึ่งทำทานโดยการ
ถวายทานด้วยสมบัติกองสูงเท่ากับภูเขาพระสุเมรุ
ทั้งจักรวาลมารวมกัน
ส่วนอีกคนหนึ่ง รับฟังคำสอนไว้ ในใจ อ่าน เรียนรู้
จดจำ แล้วสั่งสอนผู้อื่น
.......บุญกุศลของชายคนแรก ยังไม่มากเท่าหนึ่งใน
ร้อย หนึ่งในพัน หนึ่งแสน ของบุญกุศลที่ชายคน
ที่สองได้รับ เพราะไม่สามารถจะเปรียบกันได้เลย "


ทำบาปไว้ชาติก่อน   จะผ่อนผัน
ได้ช่วยกันพิมพ์หนังสือ   สื่อความหมาย
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง  ไม่หมองกาย
ทั้งโรคร้ายอุบัติภัย   ไม่พบพาน
แม้ศัตรูคู่แค้น  แต่ปางบรรพ์
มาร่วมกันรับกุศล ไม่ล้างผลาญ
ทั้งปีศาจภูติผี และหมู่มาร
ไม่ระรานสิงเร้น ให้ห่างไกล
ปราศจากสิ่งร้าย สบายจิต
ชั่วชีวิตฝันดี ดวงแจ่มใส
ตั้งปณิธานแน่วแน่ แผ่ความดี
ครอบครัวมีความสุข สนุกสนาน
มีอายุยั่งยืน ทุกคืนวัน
ไม่โลภโมโทสัน สุขสมบูรณ์
การพูดการกระทำ แต่กรรมดี
จะเป็นที่ลือไกล ไม่สิ้นสูญ
ผู้คนเคารพทั่ว และเทิดทูน
บริบูรณ์โชคลาภ รุ่งเรืองรอง 
 มีปัญญาเลิศล้ำ ในทางโลก
ไม่ทุกข์โศกป่วยหาย กายเข้มแข็ง
ยามอำลาโลกไซร้ ได้เปลี่ยนแปลง
เป็นบุรุษกล้าแกร่ง เก่งการงาน 
 เกิดมาดีมีปัญญา สง่างาม
รูปไม่ทรามสมทรง สมคำขาน
บุญกุศลมากมาย เพราะให้ทาน
ไม่พบพาบสิ่งชั่ว กลัวบาปกรรม
ให้ทุกชีวิตคิดวาง รากฐานไว้
ด้วยดวงในใฝ่ธรรม นำลูกหลาน
ได้ไปเกิดเป็นคน มีผลงาน
กุศลทานได้พบปะ เทวะเอย

ที่พึ่งเรา .....อาศัย...... สิ่งใดเล่า
หวังพึ่งเขา......พึ่งได้.......ชั่วเรียกขาน
ตนพึ่งตน......พึ่งได้..........ตลอดกาล
พี่งได้นาน......เพราะบุญกรรม.....เราทำเอง

ด้วยรัก/จากใจ..พลอยจ๋า
 


อัคคีใดเล่า จักเผาถึงใจ


 

ภาพหลังจากเหตุการณ์เผาวัดพุทธกว่า ๖ แห่ง

ในเขตคอกซ์บาซาร์ ประเทศบังคลาเทศ

เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ (ภาพจาก fb)

 

ว่าคนในรูปน่าสงสารแล้ว คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิลงมือเผาวัดและพระพุทธรูป ยิ่งน่าสงสารกว่า กรรมหนักขนาดนี้ชดใช้กันไม่หวาดไม่ไหว ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ขึ้นมา (ตกนรกขุมลึกที่สุด บางทีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ไป ๑๐ พระองค์แล้วก็ยังไม่ขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านเล่าเวลาเห็นสัตว์นรกกรีดร้องคร่ำครวญด้วยความทรมานแล้ว น่าสงสารมาก แต่ช่วยอะไรไม ่ได้ ต้องปล่อยวาง กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม)

อุปมาคนยกกาน้ำไม่รู้ว่ากาน้ำกำลังร้อน จับเข้าเต็มแรง ก็ย่อมเจ็บปวดเสียหายมากกว่าคนยกที่รู้ว่ากาน้ำกำลังร้อน ค่อยแตะค่อยจับอย่างเบาแรงฉันใด

คนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ก็กระทำความชั่วอย่างเต็มที่ เหมือนคนไม่รู้จับกาน้ำร้อนฉันนั้น

จงยินดีเถิดว่าเราได้เกิดมาอยู่ในปฏิรูปเทสะ ประเทศที่เหมาะสม สังคมสัมมาทิฏฐิ รู้ผิดชอบชั่วดี ได้พบพระพุทธศาสนา และจงรีบทำตนให้ถึงซึ่งพระนิพพานเสียแต่ชาตินี้ เพราะมิรู้ว่า ชาติหน้าเราจักไปเกิดที่ใด จักได้พบพระพุทธศาสนาหรือเปล่า หรือเราอาจไปเกิดในประเทศที่คนมิจฉาทิฏฐิเต็มเมืองร่วมกันสร้างเหตุการณ์น่าเศร้าสลด� ��ย่างนี้ ก็เป็นได้...

บางคนอาจโกรธเกลียดผู้ที่ทำลายวัด ทำลายพระพุทธรูป ข้าพเจ้าเห็นว่า หากเราเป็นชาวพุทธแท้ พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงสอนให้เราโกรธ เกลียด ใครใดใดเลย ไม่ว่ากรณีใดใด แม้กระทั่งศัตรูที่จะฆ่ากายเนื้อเราก็ตาม วัตถุธาตุใดใดในโลก ล้วนสร้างขึ้นใหม่ได้ (มองว่า เขาเปิดโอกาสให้เราได้สร้างบุญสร้างกุศลเพิ่มเติมก็ได้) � ��ต่จิตใจคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น ยากเหลือเกินที่จักสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นแทนที่เราจะไปโกรธเกลียดเคียดแค้นด่าทอพวกเขา เราน่าร่วมกันแผ่เมตตาให้เขาจะดีกว่า เพราะเขาทำโดยไม่รู้ เขาทำโดยถูกสอนถูกปลุกปั่นไปในทางที่ผิด และสุดท้ายเขาจักถูกแผดเผาด้วยไฟนรกไปชั่วนาตาปีโดยไม่มีใครช่วยเหลือเขาได้เลย

อาทิกัลยาณัง เราสร้างว� ��ดกันด้วยศรัทธาแท้ เป็นความงดงามในเบื้องต้น มัชเฌกัลยาณัง เราร่วมกันสร้างบุญสร้างกุศลในพุทธสถานนั้นช่างงามในท่ามกลาง ปริโยสานะกัลยาณัง แม้ในเบื้องปลายศาสนสถานนั้นถูกทำลายไป เราก็ยังคงรักษาความงามของจิตใจเราด้วยอภัยทาน งามไปตลอดกาลนาน ไฟภายนอกเผาได้แค่วัตถุธาตุ แต่โทสัคคิ ไฟคือโทสะเท่านั้นที่เผาเข้าถึงใจ อย่าให้ความ� ��กรธเกลียดชิงชังใดใดมาทำให้เราศิษย์ตถาคตทั้งหลายแปดเปื้อนเลย

เจริญธรรม ฯ

edit @ 3 Oct 2012 21:20:25 by Dhammasarokikku

ทำบุญแล้วรู้สึกเฉย ๆ ได้บุญน้อยลงหรือเปล่า?

หายเฮดไปสิงสถิตย์อยู่บนเฟสบุ๊คเสียหลายเพลา มาว่ากันต่อไปถึงคำถามที่ยังค้างคา

ถาม : เรื่องที่สี่ การถวายดอกไม้หรือพวงมาลัยกับพระพุทธรูปด้วยใจที่บริสุทธิ์เช่นเดียวกับตอนที่ถวายแด่พระสงฆ์ อานิสงส์จะเท่ากันไหมครับ?

ตอบ : คล้าย ๆ กันครับ ไม่เท่ากันซะทีเดียว จะมีการแบ่งละเอียดตามผู้รับทักขิณาทานตามทักขิณาวิภังคสูตร โดยรวมถือว่า บูชาคุณพระรัตนตรัย อานิสงส์ใกล้เคียงกันครับ

ทั้งนี้ต้องตั้งใจให้ดีนะครับ มิใช่ถวายดอกไม้ หรือพวงมาลัยพระพุทธรูปแล้วขอให้ชาติหน้าได้ภรรยาสวย สามีหล่อ หรือให้เกิดมารูปงาม อย่างนี้อานิสงส์น้อยมาก เรียกว่า การทำบุญหวังผล

อานิสงส์จักมาก ต้องตั้งใจว่า พระพุทธรูปนี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เราขอน้อมสักการบูชาคุณความดีของพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องหอม เครื่องสวยงามเหล่านี้ บุญทั้งหลายสำเร็จที่ใจครับ

 

ถาม : เรื่องสุดท้ายสำหรับวันนี้ครับ การทำทานด้วยความเคยชิน ยกตัวอย่างเช่น ครั้งแรกได้บริจาคเงินใส่กล่องกับมูลนิธิหนึ่งที่ตั้งไว้ในสถานที่หนึ่ง ด้วยใจที่สงสารอยากช่วยเหลือ แต่ต่อมานานวันเข้า การบริจาคใส่กล่องเดิมนั้นกับเป็นความเคยชินเพียงอย่างเดียว แบบว่ารู้ว่าที่ๆนั้นมีกล่องรับบริจาคตั้งอยู่ ก็เดินไปหยอดเงินโดยปราศจากค� �ามคิดใดๆ แต่ไปบริจาคเพราะความเคยชิน จำได้ว่ามีกล่องรับบริจาคตั้งอยู่ แบบนี้ถือว่ายังมีอานิสงส์เท่าเดิมไหมครับ

ตอบ : คำถามนี้ขอยกคำถาม-คำตอบของพระครูวิลาศกาญจนธรรมมาทั้งกระบิเลย คำตอบอยู่ในส่วนท้ายครับ

 

ทำบุญแล้วดีอย่างไร ?

ถาม : ก่อนออกจากบ้านมา น้องชายถามว่าทำบุญแล้วดีอย่างไร นอกจากความสบายใจ ?

ตอบ : นั่นสิ..ทำบุญแล้วดีอย่างไรนอกจากเสียเงิน ในเรื่องของบุญ ส่วนใหญ่ทำแล้วผลเห็นในโอกาสข้างหน้า ไม่ได้เห็นทันตา ยกเว้นบุญบางประเภทที่หาโอกาสทำได้น้อยในปัจจุบัน คราวนี้การที่เราทำแล้� ��ไม่เห็นผลทันตา เราก็ต้องมีความเชื่อก่อนว่า เรื่องของการทำความดีนั้นมีสวรรค์ มีพรหม มีพระนิพพานรองรับอยู่ การทำความชั่วนั้นมีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานรองรับ แต่คราวนี้เราไม่เห็น

ถามว่าจะให้เชื่ออย่างเดียวได้อย่างไร ? เราก็มาเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ว่า ถ้ากิจการเราทำแล้วมีกำไรกับเสมอตัว กับกิจการอีกอย่างหนึ่งทำแล้วมีแต่ขาดทุนกับเสมอตัว เราควรเลือกทำอย่างไหน ? ที่ว่าหากนรกสวรรค์มีจริง เราทำความดีก็กำไร เพราะว่าเราก็ไปดี แต่ถ้านรกสวรรค์ไม่มี เราทำดีก็แค่เสมอตัว เพราะไม่ได้อะไร ถ้าไม่มีนรกสวรร� �์ เราทำชั่วเราก็แค่เสมอตัว แต่ถ้านรกสวรรค์มีจริง เราทำชั่วเราก็ขาดทุน..เพราะลงข้างล่างเลย

เพราะฉะนั้น..สิ่งหนึ่งทำแล้วเสมอตัวกับกำไร กับทำแล้วเสมอตัวกับขาดทุน เราควรจะเลือกทำอะไร ? อันนี้คือบอกเขาให้คิดแบบชาวบ้านทั่วๆ ไป

แต่ในส่วนของบุญนั้น คนที่เกิดมาประกอบไปด้วยกิเลสใหญ่ คือ รัก โลภ โกรธ หลง การทำ� �ุญต่างๆ เป็นการตัดตัวโลภ คือ สิ่งที่เราอยากได้หรือควรจะได้ เราพยายามสละให้คนอื่นเขา ทำให้เราเบากายเบาใจ รู้จักสละออก แบ่งปันคนอื่น เกิดความสบายใจขึ้นมา เพราะว่าเราให้ใครเขาก็รักเรา ในเมื่อเราเป็นที่รักของคนอื่น เราจะไปที่ไหนก็ได้ เมื่อเกิดความสบายใจขึ้นมาเราเรียกว่าบุญ

แต่คราวนี้บุญที่ต้องการจริงๆ นั้น ก็คือ บุญที่เร� ��ให้เพื่อเป็นการตัด ละ รัก โลภ โกรธ หลง ในเมื่อเป็นอย่างนั้น เป้าหมายใหญ่มหึมามาก เราก็ดูให้ใกล้ๆ ของเราว่า ถ้าเราทำแล้วเราเกิดความสบายใจเราก็ทำ ขณะเดียวกันเรื่องของบุญไม่ใช่ว่าทำมากแล้วจะดี สำคัญตรงกำลังใจในการสละออก ถ้าตั้งใจสละออก ถึงทำน้อยก็ได้บุญมาก ถ้าสักแต่ว่าทำไป ถึงทำมากก็ได้บุญน้อย เพราะเจตนาไม่ครบ ความมุ่งมั่นไม่มี ทีนี้พอรู้หรือ� �ังว่าเขาทำกันอย่างไร ?

ถาม : เมื่อก่อนทำบุญแล้วรู้สึกมีปีติ แต่ช่วงหลังๆ มารู้สึกเฉยๆ ไม่แน่ใจว่าสักแต่ว่าทำหรือเปล่า ?

ตอบ : การที่เราทำไปนานๆ จะเกิดความเคยชิน ความเคยชินภาษาบาลีเขาเรียกว่า ฌาน จิตที่ทรงฌานจะก้าวข้ามปีติไปแล้ว รู้แต่ว่าสิ่งนี้สมควรทำเราจะทำ ไม่เหลือปีติไว้แล้ว แต่เป็นฌาน กำลังใจสูงขึ้นไม่ได้ต่ำลง ถ้ากำลังใจต่ำลง คือไม่คิดจะทำอีก แต่ทีนี้เรายังทำเป็นปกติ เพียงแต่ก้าวข้ามปีติไปกลายเป็นฌาน ก็เลยกลายเป็นว่าทำก็ไม่รู้สึกหรือสาอะไร เพราะเคยชินไปแล้ว

สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕

ขอบพระคุณหลวงพี่มากครับที่ให้ชี้ทางสว่าง

นมัสการครับ

เจริญธรรม ฯ

Thursday, April 25, 2013

Dhamma together:เคล็ดลับของความสุขที่เรามองข้าม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

เคล็ดลับของความสุขที่คนเรามักจะมองข้ามไป คือ ความสันโดษ

ความสันโดษ เป็นมงคลข้อที่ 24 ในมงคล 38 ประการ

มงคลเป็นเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิต

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ให้พุทธศาสนิกชนนำไปปฏิบัติ

นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า

คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความสุข ความเจริญ

ความสุขอันเกิดจากความสันโดษนั้น เราไม่ต้องแสวงหาอะไรนอกตัวเรา

 "ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่า

 สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ทุกวันนี้

 ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเดิม

 เราเพียงแต่เปิดใจให้กว้าง

 ยอมรับความจริงตามกฎธรรมชาติ

 ด้วยจิตใจที่เป็นธรรม

 แล้วยินดีพอใจในสิ่งที่มีที่เป็น

 ที่หามาได้ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

 รู้จักคิดดี คิดถูก เท่านั้นแหละ..."

พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก

ความสันโดษ อันเป็นบ่อเกิด

ของความพอใจสุขใจ

มันก็ผุดขึ้นมาเองอัติโนมัติ ที่นี่ เดี๋ยวนี้

 

Wednesday, April 24, 2013

Dhamma together:ปลดปล่อยตัวเอง..จากทุกสิ่งทุกอย่าง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

 "ปัญญาเรียกว่าเป็นตัวปลดปล่อย

 ขณะนี้เราชอบใช้คำว่าปลดปล่อย

 เราไปปลดปล่อยทางสังคม

 ไปปลดปล่อยอะไรต่ออะไรเยอะ

 แต่จะปลดปล่อยตัวเอง

 ให้พ้นจากอำนาจ กิเลส อวิชชา ความมืดบอด

 คือต้องเอาปัญญามาปลดปล่อย..."

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

Dhamma together:กฎของธรรมชาติ...ข้อเดียว...ง่ายๆ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

 "กฎของธรรมชาติแค่ข้อเดียวง่ายๆ คือ

สรรพสิ่งล้วนชั่วคราว ทุกสิ่งล้วนเป็นของชั่วคราว

หรือแม้แต่สิ่งที่มองไม่เห็น พิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์

ก็ล้วนเป็นสิ่งชั่วคราว สามีก็ชั่วคราว

ภรรยาก็ชั่วคราว เก้าอี้นายกก็ชั่วคราว 

โลกใบนี้น่ะชั่วคราว

ดวงอาทิตย์ก็ชั่วคราว ดวงจันทร์ก็ชัวคราว

ระบบสุริยะจักรวาลก็ชั่วคราว

 หากเราเข้าใจกฎธรรมชาติข้อเดียวง่ายๆ

 คือ สรรพสิ่งล้วนชั่วคราว

 ความทุกข์ก็จะผ่อนคลายไปตั้งสามในแปดส่วน

 นี่สำนวนจอมยุทธเลยนะ เพียงแค่ซึ้งในข้อความเดียวว่า

ทุกอย่างล้วนชั่วคราวเท่านั้น

คนเรามาแล้วก็ไป เพราะข้ามาจากแดนไกล

 ถึงเวลาจะไปข้าก็ไป ไม่ต้องมาฆ่าข้า ข้าก็ไปอยู่แล้ว

เพราะว่าข้านี้ไม่มีค่าอะไร ถึงจะว่ามีค่าก็คือ

ข้านี้ไม่มี ...นั่นแหละมีค่ามากที่สุดแล้ว

 แต่หากวันนี้ ยังวางไม่ได้ทั้งหมด ยังยึดถืออยู่ ก็พยายามอย่าถือให้หนัก

อย่ากำให้แน่นนัก จะได้ทุกข์ แบบพอดีๆ ไม่ถึงขั้นจมจ่อม จับเจ่าไปกับความทุกข์

แต่ทุกข์แบบแค่พออยู่ร่วมกันกับความทุกข์ได้

กำแน่นมาก ถือหนักมาก ก็ทุกข์มาก

กำแน่นน้อยหน่อย ถือเบาๆ ทุกข์ก็น้อย

ไม่ถือหนัก ไม่กำอะไรเลย ก็ไม่ทุกข์เลย...."

พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

Sunday, April 21, 2013

การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก

 การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
 
 
 
 
สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ณ วัดพระเชตวัน มีอุบาสก 5 คนเป็นเพื่อนกัน มานั่งฟังธรรม ทั้ง 5 คนต่างมีกิริยาอาการต่าง ๆ กัน

คนหนึ่งนั่งหลับ
คนหนึ่งนั่งเอานิ้วเขียนพื้นดินเล่น
คนหนึ่งนั่งเขย่า ต้นไม้
คนหนึ่งนั่งแหงนดูท้องฟ้า
มีเพียงคนเดียวที่นังฟังธรรมด้วย อาการสงบ

พระอานนท์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "ทำไมอุบาสกเหล่านี้จึงแสดงกิริยาเช่นนั้น" พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าอดีตชาติของอุบาสกแต่ละคนว่า

อุบาสกที่นั่งหลับ เคยเกิดเป็นงูมาแล้วหลายร้อยชาติ เขาหลับมาหลายร้อยชาติแล้วก็ยังไม่อิ่ม แม้แต่ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ธรรมะก็ไม่เข้าหู ยังหลับอยู่อย่างนั้น

อุบาสกที่นั่งเอานิ้วเขียน พื้นดิน เคยเกิดเป็นไส้เดือนมาหลายร้อยชาติ นั่งเอานิ้วเขียนบนพื้นดินเล่นอยู่อย่างนั้น ด้วยอำนาจความประพฤติที่ตัวเคยทำมา ก็ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

อุบาสกที่นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั้น เกิดเป็นลิงมาแล้วหลายร้อยชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังเขย่าต้นไม้อยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

อุบาสกที่นังแหงนดูท้องฟ้านั้น เคยเกิดเป็นพราหมณ์บอกฤกษ์ด้วยการดูดาวมาหลายร้อยชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังคงนั่งดูท้องฟ้าอยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า

อุบาสกที่นั่งฟังธรรมอย่างสงบด้วยความเคารพ เคยเกิดเป็นพราหมณ์ศึกษาธรรมะและปรัชญา ค้นคว้าหาความจริงมาหลายร้อยชาติ มาบัดนี้ได้พบพระพุทธเจ้า ตั้งใจฟังธรรมด้วยดี จนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะนึกสงสัยว่า ชาติก่อนเราเกิดเป็นอะไรหนอ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก ต้องมีบุญมาก อุปมาเหมือนเต่าตาบอดตัวหนึ่งดำน้ำอยู่ในทะเล ทุกๆ 100 ปี เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่หัวขึ้นมาจากทะเลครั้งหนึ่ง ในทะเลมีห่วงเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่าหัวเต่าหน่อยหนึ่งลอยอยู่ 1 ห่วง โอกาสที่เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมา แล้วหัวสวมเข้ากับห่วงพอดียากเพียงใด โอกาสนั้นก็ยังมีมากกว่า การที่เหล่าสรรพสัตว์จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์

ในฐานะมนุษย์ไม่มากก็น้อยที่ใจของเราได้มีประสบการณ์ในภพชาติอื่น ๆ ทั้งที่ต่ำกว่าและสูงกว่าภพมนุษย์ เรามีปัญญาที่จะรู้ได้จากประสบการณ์ของเราแล้วว่าอะไรดี อะไรไม่ดี

การเกิดเป็นมนุษย์ถ้าดีก็ดีได้มากๆ แต่ก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะถ้าประมาทก็ทำชั่วได้มาก ถ้าไม่ประมาท รักษาศีล 5 ทำความดี สร้างบารมี ตั้งใจพัฒนาชีวิตจิตใจแล้วก็สามารถมีประสบการณ์สูงขึ้น เป็นเทวดา พรหม ตลอดจนเข้าถึงอริยมรรค อริยผล บรรลุนิพพานได้ มนุษย์จึงเป็นชาติที่มีทางเลือก

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
เป็นการยากที่ได้เกิดเป็นมนุษย์
เป็นการยากที่ชีวิตสัตว์จะได้ อยู่สบาย
เป็นการยากที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
เป็นการยากที่พระ พุทธเจ้าจะอุบัติมา

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราจึงควรเห็นคุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์ อย่าให้เสียโอกาส เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์เอาใจใส่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ให้มั่นคง

ดังนั้นสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง การเลือกทางดำเนินชีวิตของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

การอุบัติของพระพุทธเจ้ามีได้ยาก
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพบพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งกว่า


edit @ 1 Jul 2010 18:35:55 by dhammaworld

พระพุทธเจ้ากับเอกภพ

      พระพุทธเจ้ากับเอกภพ


 


 

       พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "จูฬนีสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๒๑๕ เล่ม ๒๐ ว่า จักรวาล ประกอบด้วยดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจร ไปร่วมกัน จะมีขุนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ) (เป็นภูเขาทิพย์ที่เห็นได้เฉพาะผู้มีอภิญญา) ทวีปต่างๆ ที่ตั้งชื่อกันในสมัย นั้นคือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และปุ� ��พวิเทหทวีป มหาสมุทรทั้ง ๔ (นับกันได้ในสมัยนั้น) มีนรกขุมต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ และพรหมโลกชั้นต่างๆ โลกธาตุ มี ๓ ขนาด คือ โลกธาตุอย่างเล็กมีจำนวนพันจักรวาล โลกธาตุอย่างกลางมีจำนวนล้านจักรวาล โลกธาตุอย่างใหญ่มีจำนวน แสนโกฏิจักรวาล ทั้งโลกธาตุอย่างเล็กก็ดี อย่างกลางก็ดี อย่างใหญ่ก็ดี ยังมีอีกจำนวนมากมาย "ทุก สิ่งทุกอย่างมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแ ตกดับไปในที่สุด" กำเนิดของโลกพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อัคคัญญสูตร" พระไตรปิฎก หน้า ๖๑ เล่ม ๑๑ ว่า เกิดมีน้ำขึ้นในห้วงอวกาศอันมืดมิดก่อนแล้วนานๆไปเกิดการรวมตัวงวดเข้าเป็น ง้วนดิน แล้วพัฒนาเป็นกระบิดิน ต่อไปเป็นเครือดิน จากนั้นมีต้นข้าวและพืชทั้งหลายเกิดขึ้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หมู่ดาว นรกขุมต่างๆ เทวโลกและพรหมโลกชั้นต่างๆ ก็เกิดขึ้นเอง

 

กำเนิดชีวิตพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "เพราะมีความอยาก จึงมีการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลขึ้นมา เมื่อไม่มีความอยากการเกิดเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ไม่มี"

 

๑.ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว

 

มนุษย์ ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระวิปัสสี" มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี สมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระเรวะตะ" มนุษย์ในชมพูทวีปมีความสูงถึง ๘๐ ศอก แต่เมื่อคุณธ รรมเสื่อมลง จิตใจหยาบช้าลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง ร่างกายก็เตี้ยลง ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน เรียกยุคนั้นว่า "ยุคทมิฬ" เป็นยุคที่เสื่อมที่สุดของ "ชมพูทวีป" ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป"เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู"

ชมพูทวีป เป็นทวีปเดียวที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ต้องมาตรัสรู้ที่ทวีปนี้เท่านั้น

 

๒.อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

เป็นแผ่นดินกว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อย มีธาตุแก้วผลึกอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุแก้วผลึกทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอมรโคยานทวีปมีสีแก้ว ผลึก มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คาง แหลม มนุษย์ที่อมรโคยานทวีป มีความสูง ๖ ศอก มีอายุ ๕๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว) ดอกไม้ประจำอมรโคยานทวีปคือ "กะทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)"

 

๓.ปุพพวิเทหะทวีป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ มีธาตุเงินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุเงินทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของปุพพวิเทหะทวีปมีสีเงิน มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีรูปหน้าเหมือนพระจันทร์เต็มดวง คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร มนุษย์ที่ปุพพวิเทหะทวีป มีความสูง ๙ ศอก มีอายุ ๗๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุเป็นกฏตายตัว) -ดอกไม้ประจำปุพพวิเทหะทวีปคือ "สิรีสะ (ไม้ทรึก)"

 

๔.อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบ มีธาตุทองคำอยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุทองคำทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของอุตรกุรุทวีปมีสีเหลืองทอง มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ รูปร่างงาม มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ ไม่ยึดถือสมบัติ บุตร ภรรยา สามี ว่าเป็นของๆตน มน� �ษย์ที่อุตรกุรุทวีป มีความสูง ๑๓ ศอก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี (จะไม่ตายก่อนอายุ เป็นกฏตายตัว) มีต้นไม้นานาชนิด ดอกไม้ประจำอุตรกุรุทวีปคือ "กัปปรุกขะ (กัลปพฤกษ์)" ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์ จะสมปรารถนา  มนุษย์ที่ อุตรกุรุทวีป เมื่อตายจากทวีปนี้ ทุกคนจะได้ไปเกิดใน "เทวภูมิ ชั้นตาวติงสาห์ภูมิ" ทุกๆคนเป็นกฏตายตัว ในภาษาบาลี "อุตร" แปลว่า "เหนือ" ...เพรา� ��เหตุนี้ ถึงเรียกทวีปนี้ว่า "อุตรกุรุทวีป" 

 
   สําหรับเรื่องรูปร่างหน้าตาของมนุษย์ต่างดาวในแต่ละทวีปนั้น ตามในพระไตรปิฏกและอรรถกถาต่างๆ ยืนยันว่ารูปร่างเหมือนมนุษย์เราเนี่ยแหละครับ เพราะพื้นฐานการเกิดบนดาวเขาก็อาศัยธาตุทั้ง 4 เหมือน ชมพูทวีป (ดาวโลกเรา) ในพระสูตรหนึ่ง กล่าวถึงโชติกะเศรษฐี ใครสนใจลองไปค้นอ่านได้ในพระไตรปิฏกครับ ท่านว่าโชติกะเศรษฐีนี้ มีบุญมาก เกิดมาเพื่อบํารุงพุทธศาสนาด้วย พอถึงเวลาที่ท่านจะมีภรรยา ปรากฏว่าหาคู่บารมีไม่ได้ เพราะกําลังบุญท่านสูงมาก ไม่มีหญิงคนไหนในโลกเทียบได้ที่จะมาเป็นภรรยาท่าน พระอินทร์ทราบดังนั้น ได้ไปนําหญิงสาวจากอุตกรุทวีปมาให้ เป็นภรรยา
 
       ธรรมชาตินี้กำหนดไว้ว่า ในวงเขตหมื่นจักรวาลจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้เพียงครั้งละหนึ่งพระองค์เท่านั้นในวงเขตหมื่นจักรวาลนี้จะไม่มีพระพุทธเจ้าสองพระองค์อุบัติขึ้นพร้อมกันเด็ดขาด
       สำหรับวงหมื่นจักรวาลในพุทธเขตของพระพุทธเจ้าสมณโคดมในปัจจุบ ันนี้ก็มีจักรวาลของพวกเรานี้เป็นศูนย์กลางพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นในวงหมื่นจักรวาลนี้จะต้องอุบัติที่จักรวาลแห่งนี้เท่านั้น และจะอุบัติขึ้นที่โลกตรงนี้แหละ

       แต่เมื่อกล่าวถึงจักรวาล พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จักรวาลนั้นไม่มีที่สุดคือนับไม่ได้ว่ามีจำนวนเ ท่าใดเมื่อจักรวาลนั้นประมาณไม่ได้เช่นนี้และเมื่อแบ่งจักรวาลออกเป็นวงละหมื่นๆ ก็นับไม่ได้อีกเหมือนกันว่าจะมีจำนวนเท่าใดและในวงหมื่นจักรวาลอื่นๆนั้นก็ไม่ได้ห้ามการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆที่นอกจากพระพุทธเจ้าสมณโคดมของเรานี้เพราะฉะนั้น เมื่อดูจากคำสอนของพระพุทธเจ้าใ นส่วนนี้แล้วก็ประมาณได้ว่าในขณะนี้จะต้องมีพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ในวงหมื่นจักรวาลอื่นอันไกลโพ้นโน้นแน่นอนแต่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นจะอยู่ตรงไหนและมีพระนามว่าอย่างไรนั้น อันนี้ไม่ทราบ

       ส่วนเรื่องของพระโมคคัลลานะไปต่างจักรวาลแล้วหลงนั้น เป็� �เรื่องแต่งขึ้นในภายหลังของพวกที่นับถือนิกายมหายานเพราะพวกมหายานก็รับทราบคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนนี้ แล้วก็แต่งเสริมเติมไปตามจินตนาการของพวกเขาให้มีพระพุทธเจ้าชื่อนี้ อยู่ตรงสถานที่ชื่ออย่างนี้แล้วก็ผูกเรื่องให้เชื่อมโยงกันขึ้นให้พระโมคคัลลานะซึ่งเป็นอัครสาวกที่มีฤทธิ์� �ากออกไปท่องเที่ยวตามจักรวาลต่างๆแล้วก็หลงไปที่แดนสุขาวดีหาทางกลับไม่เจออะไรทำนองนี้แหละ
 
 

พึงเที่ยวไปผู้เดียว

 
พึงเที่ยวไปผู้เดียว

 

 
  • ·  บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว    ไม่เบียดเบียนบรรดาสัตว์เหล่านั้น
แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก   ไม่พึงปรารถนาบุตรจะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน     พึงเที่ยวไป

ผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.

  •    ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน     ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย
บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย   พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
  • ·  บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหาย    เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว      ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้
เสื่อม  บุคคลเห็นภัย    คือ    การยังประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้     พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
                                  
  • ·  บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใยในบุตรและภริยาเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว
ก่ายกันฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่ เหมือนหน่อไม้  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
 
  • ·  เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว  ย่อมไปหากินตามความปรารถนา   ฉันใด    นรชน
ผู้รู้แจ้ง      เพ่งความประพฤติตามความพอใจของตน     พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  การปรึกษาในที่อยู่  ที่ยืน   ในการไปในการเที่ยว     ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย
บุคคลเพ่งความประพฤติตามความพอใจ    ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  การเล่น     การยินดี     ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย     อนึ่ง   ความรักที่ยิ่งใหญ่
ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย        บุคคลเมื่อเกลียดชังความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็น

ที่รัก  พึงเที่ยวไปผู้เดียว    เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย       ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน   ยินดีด้วยปัจจัยตามมี
ตามได้  ครอบงำเสียซึ่งอันตราย    ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ยาก  อนึ่ง  คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์
ได้ยาก     บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือน

นอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  นักปราชญ์ละเหตุ        อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์      ดุจต้นทองหลางมีใบ
ร่วงหล่น      ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น  พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
สุด  ผู้เสมอกัน     กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว    พึงเป็น

ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ       เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง       ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จ
ด้วยดีแล้ว    กระทบกันอยู่ในข้อมือ  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง    หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ
เยื่อใย  พึงมีได้อย่างนี้     บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร  มีรสอร่อยเป็นที่รื่นรมย์ใจ   ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ
บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว   พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลเห็นภัย คือ  จัญไร   ฝี   อุปัทวะโรค   ลูกศร  และความน่ากลัวนี้   ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว      พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง  คือ  หนาว   ร้อน   หิว   ระหาย   ลม
แดด    เหลือบและสัตว์เลื่อยคลานแล้ว    พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด        เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน
ตระกูลปทุม     มีขันธ์เกิดขึ้นแล้ว    ละโขลงอยู่ในป่าตามอภิรมย์  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า
การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยคณะจะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัย   นั้นไม่

เป็นฐานะที่จะมีได้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด   ฉะนั้น.
 
  • ·  เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้วถึงความเป็นผู้เที่ยง    ได้มรรคแล้ว  เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว  อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้ไม่โลภ   ไม่หลอกลวง   ไม่มีความกระหาย  ไม่ลบหลู่  มีโมหะดุจน้ำฝาด
อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก  ครอบงำโลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก    ไม่พึงเสพด้วยตนเอง        ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์     ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ  ผู้ข้องอยู่   ผู้ประมาท   พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม    ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม  มีปฏิภาณ  รู้จัก
ประโยชน์ ทั้งหลาย  กำจัดความสงสัยได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่พอใจการเล่น  ความยินดีและกามสุขในโลกแล้ว  ไม่เพ่งเล็งอยู่   เว้น
จากฐานะแห่งการประดับ   มีปกติกล่าวคำสัตย์    พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา  มารดาทรัพย์  ข้าวเปลือก   พวกพ้อง    และกามซึ่ง
ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บัณฑิตทราบว่าความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้มีสุขน้อย มีความ
ยินดีน้อย  มีทุกข์มาก   ดุจหัวฝี   ดังนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสียเหมือนปลาทำลายข่าย    เหมือนไฟไม่หวน
กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว        พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า  มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว    มีใจอันรักษา
แล้ว    ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว        และอันไฟคือกิเลสไม่แผดเผาอยู่      พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์       ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ออกบวชเป็นบรรพชิต        พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย   ไม่โลเล  ไม่เลี้ยงคนอื่น   มีปกติเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอก   ผู้มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต  ๕ อย่าง    บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว     ผู้อัน
ทิฏฐิไม่อาศัย  ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละสุข     ทุกข์      โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้  ได้อุเบกขาและสมถะ
อันบริสุทธิ์แล้ว   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์   มีจิตไม่หดหู่   มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้านมีความบากบั่นมั่นคงถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังกาย   และกำลังญาณ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรม      อันสมควรเป็นนิตย์ใน
ธรรมทั้งหลาย          พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท       ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้
มีการสดับ    มีสติ    มีธรรมอันกำหนดรู้แล้วเป็นผู้เที่ยง   มีความเพียร  พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น  เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง
ไม่ข้องอยู่    ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น   เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย   ไม่ติด

อยู่ด้วยความยินดี และความโลภ      เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ  พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด  เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด         เหมือน
ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ    มุทิตาวิมุตติ      และอุเบกขาวิมุตติ
ในกาลอันควร        ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละราคะ  โทสะ และโมหะแล้วทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว       ไม่สะดุ้งใน
เวลาสิ้นชีวิต      พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
 
 

Thursday, April 18, 2013

Dhamma together:ความรู้ชัด...ทำให้เกิดอิสรภาพ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

 "การรู้เท่าทันนี่สำคัญ ต้องทันเลยสังคมตะวันตก

อเมริกันเป็นยังไง พลาดยังไง เผลอยังไง

ออกนอกทางไปยังไง สุดโต่งยังไง

เราก็น่าจะเป็นตัวของตัวเอง

ความรู้ชัด...ทำให้เราเกิดอิสรภาพ..."

พรพรหมคุณาภรณ์

(ป.อ.ปยุตฺโต)

Dhamma together:จินตนาการ...สำคัญกว่าความรู้...คำคมฝรั่ง...เข้าถึงธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

"อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า 

...จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้...

...Imagination is more important than knowledge...

เมื่ออาจารย์นำคำพูดนี้มาพิจารณาในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม คำว่า จินตนาการ (Imagination) 

ในที่นี้ก็ไม่ใช่การนึกคิด ปรุงแต่ง ฟุ้งซ่าน จินตนาการน่าจะเปรียบเทียบเหมือนฉันทะ

ในอิทธิบาท 4  คือ ศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ควรเชื่อ เมื่อเรามีศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว

เราก็ตั้งใจมุ่งมั่นและพยายามที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้น

    และในแง่วิปัสนากรรมฐาน อาจารย์พิจารณาว่าจินตานาการ คือ ศรัทธาความเชื่อมั่นว่า

ธรรมชาติของจิตเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติ อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น 

ไม่ว่าจะขี้เกียจ ขี้โกรธ ฟุ้งซ่าน ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉา ฯลฯ เป็นอาคันตุกะทุกข์ที่เพียงแต่ผ่านมา

ไม่ใช่ว่าความเศร้าหมองจะมาเกาะติด ฝังแน่นในใจ อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วดับไป 

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การมีจินตนาการ กำหนดจิตไว้ว่า ธรรมชาติของจิตบริสุทธิ์ ผ่องใส สงบสุข

แล้วกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นปฏิกูลทางจิตใจ เราห้ามไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้

เหมือนปฏิกูลทางร่างกาย กินอาหารเข้าไปแล้ว ก็ต้องขับถ่ายของเสียออกมา เป็นธรรมชาติ

เมื่อขับถ่ายแล้ว เราก็รีบทำความสะอาด ไม่เก็บทิ้งไว้ให้เหม็น ปฏิกูลทางจิตใจก็เหมือนกัน

เมื่อรับรู้ทางตา ได้ยินทางหู มีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น เราไม่ต้องห้าม

แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของเราคือกำหนดรู้แล้วปล่อยวาง รู้แล้วก็ปล่อย ไม่ยึดมั่นถือมั่น

อารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ยินดียินร้าย อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เพ่งเป็นอารมณ์วิปัสนาคือ อนิจจัง

และหากเปรียบเทียบความรู้ (Knowledge) คือ สัญญา ความจำที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง 

เช่น ฟังเทศน์ อ่านพระธรรม พระไตรปิฎก เรียนพระอภิธรรม เหล่านี้ เป็นความรอบรู้ ระดับ

สุตมยปัญญา  แต่จินตนาการในอารมณ์วิปัสนากรรมฐาน ก็เป็นปัญญาระดับสูง คือ 

ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์ คือรู้แจ้ง เห็นจริง ใน อนิจจัง

ทุกขัง อนัตตา

พิจารณาคำคมฝรั่งเข้าถึงธรรมโดย