Thursday, April 18, 2013

Dhamma together:จินตนาการ...สำคัญกว่าความรู้...คำคมฝรั่ง...เข้าถึงธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

"อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า 

...จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้...

...Imagination is more important than knowledge...

เมื่ออาจารย์นำคำพูดนี้มาพิจารณาในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม คำว่า จินตนาการ (Imagination) 

ในที่นี้ก็ไม่ใช่การนึกคิด ปรุงแต่ง ฟุ้งซ่าน จินตนาการน่าจะเปรียบเทียบเหมือนฉันทะ

ในอิทธิบาท 4  คือ ศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ควรเชื่อ เมื่อเรามีศรัทธาเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว

เราก็ตั้งใจมุ่งมั่นและพยายามที่จะบรรลุถึงเป้าหมายนั้น

    และในแง่วิปัสนากรรมฐาน อาจารย์พิจารณาว่าจินตานาการ คือ ศรัทธาความเชื่อมั่นว่า

ธรรมชาติของจิตเป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใสโดยธรรมชาติ อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น 

ไม่ว่าจะขี้เกียจ ขี้โกรธ ฟุ้งซ่าน ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉา ฯลฯ เป็นอาคันตุกะทุกข์ที่เพียงแต่ผ่านมา

ไม่ใช่ว่าความเศร้าหมองจะมาเกาะติด ฝังแน่นในใจ อารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วดับไป 

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

การมีจินตนาการ กำหนดจิตไว้ว่า ธรรมชาติของจิตบริสุทธิ์ ผ่องใส สงบสุข

แล้วกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นปฏิกูลทางจิตใจ เราห้ามไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้

เหมือนปฏิกูลทางร่างกาย กินอาหารเข้าไปแล้ว ก็ต้องขับถ่ายของเสียออกมา เป็นธรรมชาติ

เมื่อขับถ่ายแล้ว เราก็รีบทำความสะอาด ไม่เก็บทิ้งไว้ให้เหม็น ปฏิกูลทางจิตใจก็เหมือนกัน

เมื่อรับรู้ทางตา ได้ยินทางหู มีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น เราไม่ต้องห้าม

แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของเราคือกำหนดรู้แล้วปล่อยวาง รู้แล้วก็ปล่อย ไม่ยึดมั่นถือมั่น

อารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ยินดียินร้าย อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เพ่งเป็นอารมณ์วิปัสนาคือ อนิจจัง

และหากเปรียบเทียบความรู้ (Knowledge) คือ สัญญา ความจำที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง 

เช่น ฟังเทศน์ อ่านพระธรรม พระไตรปิฎก เรียนพระอภิธรรม เหล่านี้ เป็นความรอบรู้ ระดับ

สุตมยปัญญา  แต่จินตนาการในอารมณ์วิปัสนากรรมฐาน ก็เป็นปัญญาระดับสูง คือ 

ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์ คือรู้แจ้ง เห็นจริง ใน อนิจจัง

ทุกขัง อนัตตา

พิจารณาคำคมฝรั่งเข้าถึงธรรมโดย