ถาม : เรื่องที่สี่ การถวายดอกไม้หรือพวงมาลัยกับพระพุทธรูปด้วยใจที่บริสุทธิ์เช่นเดียวกับตอนที่ถวายแด่พระสงฆ์ อานิสงส์จะเท่ากันไหมครับ?
ตอบ : คล้าย ๆ กันครับ ไม่เท่ากันซะทีเดียว จะมีการแบ่งละเอียดตามผู้รับทักขิณาทานตามทักขิณาวิภังคสูตร โดยรวมถือว่า บูชาคุณพระรัตนตรัย อานิสงส์ใกล้เคียงกันครับ
ทั้งนี้ต้องตั้งใจให้ดีนะครับ มิใช่ถวายดอกไม้ หรือพวงมาลัยพระพุทธรูปแล้วขอให้ชาติหน้าได้ภรรยาสวย สามีหล่อ หรือให้เกิดมารูปงาม อย่างนี้อานิสงส์น้อยมาก เรียกว่า การทำบุญหวังผล
อานิสงส์จักมาก ต้องตั้งใจว่า พระพุทธรูปนี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เราขอน้อมสักการบูชาคุณความดีของพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องหอม เครื่องสวยงามเหล่านี้ บุญทั้งหลายสำเร็จที่ใจครับ
ถาม : เรื่องสุดท้ายสำหรับวันนี้ครับ การทำทานด้วยความเคยชิน ยกตัวอย่างเช่น ครั้งแรกได้บริจาคเงินใส่กล่องกับมูลนิธิหนึ่งที่ตั้งไว้ในสถานที่หนึ่ง ด้วยใจที่สงสารอยากช่วยเหลือ แต่ต่อมานานวันเข้า การบริจาคใส่กล่องเดิมนั้นกับเป็นความเคยชินเพียงอย่างเดียว แบบว่ารู้ว่าที่ๆนั้นมีกล่องรับบริจาคตั้งอยู่ ก็เดินไปหยอดเงินโดยปราศจากค� �ามคิดใดๆ แต่ไปบริจาคเพราะความเคยชิน จำได้ว่ามีกล่องรับบริจาคตั้งอยู่ แบบนี้ถือว่ายังมีอานิสงส์เท่าเดิมไหมครับ
ตอบ : คำถามนี้ขอยกคำถาม-คำตอบของพระครูวิลาศกาญจนธรรมมาทั้งกระบิเลย คำตอบอยู่ในส่วนท้ายครับ
ทำบุญแล้วดีอย่างไร ?
ถาม : ก่อนออกจากบ้านมา น้องชายถามว่าทำบุญแล้วดีอย่างไร นอกจากความสบายใจ ?
ตอบ : นั่นสิ..ทำบุญแล้วดีอย่างไรนอกจากเสียเงิน ในเรื่องของบุญ ส่วนใหญ่ทำแล้วผลเห็นในโอกาสข้างหน้า ไม่ได้เห็นทันตา ยกเว้นบุญบางประเภทที่หาโอกาสทำได้น้อยในปัจจุบัน คราวนี้การที่เราทำแล้� ��ไม่เห็นผลทันตา เราก็ต้องมีความเชื่อก่อนว่า เรื่องของการทำความดีนั้นมีสวรรค์ มีพรหม มีพระนิพพานรองรับอยู่ การทำความชั่วนั้นมีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานรองรับ แต่คราวนี้เราไม่เห็น
เพราะฉะนั้น..สิ่งหนึ่งทำแล้วเสมอตัวกับกำไร กับทำแล้วเสมอตัวกับขาดทุน เราควรจะเลือกทำอะไร ? อันนี้คือบอกเขาให้คิดแบบชาวบ้านทั่วๆ ไป
แต่ในส่วนของบุญนั้น คนที่เกิดมาประกอบไปด้วยกิเลสใหญ่ คือ รัก โลภ โกรธ หลง การทำ� �ุญต่างๆ เป็นการตัดตัวโลภ คือ สิ่งที่เราอยากได้หรือควรจะได้ เราพยายามสละให้คนอื่นเขา ทำให้เราเบากายเบาใจ รู้จักสละออก แบ่งปันคนอื่น เกิดความสบายใจขึ้นมา เพราะว่าเราให้ใครเขาก็รักเรา ในเมื่อเราเป็นที่รักของคนอื่น เราจะไปที่ไหนก็ได้ เมื่อเกิดความสบายใจขึ้นมาเราเรียกว่าบุญ
แต่คราวนี้บุญที่ต้องการจริงๆ นั้น ก็คือ บุญที่เร� ��ให้เพื่อเป็นการตัด ละ รัก โลภ โกรธ หลง ในเมื่อเป็นอย่างนั้น เป้าหมายใหญ่มหึมามาก เราก็ดูให้ใกล้ๆ ของเราว่า ถ้าเราทำแล้วเราเกิดความสบายใจเราก็ทำ ขณะเดียวกันเรื่องของบุญไม่ใช่ว่าทำมากแล้วจะดี สำคัญตรงกำลังใจในการสละออก ถ้าตั้งใจสละออก ถึงทำน้อยก็ได้บุญมาก ถ้าสักแต่ว่าทำไป ถึงทำมากก็ได้บุญน้อย เพราะเจตนาไม่ครบ ความมุ่งมั่นไม่มี ทีนี้พอรู้หรือ� �ังว่าเขาทำกันอย่างไร ?
ถาม : เมื่อก่อนทำบุญแล้วรู้สึกมีปีติ แต่ช่วงหลังๆ มารู้สึกเฉยๆ ไม่แน่ใจว่าสักแต่ว่าทำหรือเปล่า ?
ตอบ : การที่เราทำไปนานๆ จะเกิดความเคยชิน ความเคยชินภาษาบาลีเขาเรียกว่า ฌาน จิตที่ทรงฌานจะก้าวข้ามปีติไปแล้ว รู้แต่ว่าสิ่งนี้สมควรทำเราจะทำ ไม่เหลือปีติไว้แล้ว แต่เป็นฌาน กำลังใจสูงขึ้นไม่ได้ต่ำลง ถ้ากำลังใจต่ำลง คือไม่คิดจะทำอีก แต่ทีนี้เรายังทำเป็นปกติ เพียงแต่ก้าวข้ามปีติไปกลายเป็นฌาน ก็เลยกลายเป็นว่าทำก็ไม่รู้สึกหรือสาอะไร เพราะเคยชินไปแล้ว
สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕
ขอบพระคุณหลวงพี่มากครับที่ให้ชี้ทางสว่าง
นมัสการครับ
เจริญธรรม ฯ