Sunday, April 21, 2013

พึงเที่ยวไปผู้เดียว

 
พึงเที่ยวไปผู้เดียว

 

 
  • ·  บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว    ไม่เบียดเบียนบรรดาสัตว์เหล่านั้น
แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก   ไม่พึงปรารถนาบุตรจะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน     พึงเที่ยวไป

ผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.

  •    ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน     ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย
บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย   พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
  • ·  บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหาย    เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว      ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้
เสื่อม  บุคคลเห็นภัย    คือ    การยังประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้     พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
                                  
  • ·  บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใยในบุตรและภริยาเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว
ก่ายกันฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่ เหมือนหน่อไม้  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
 
  • ·  เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว  ย่อมไปหากินตามความปรารถนา   ฉันใด    นรชน
ผู้รู้แจ้ง      เพ่งความประพฤติตามความพอใจของตน     พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  การปรึกษาในที่อยู่  ที่ยืน   ในการไปในการเที่ยว     ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย
บุคคลเพ่งความประพฤติตามความพอใจ    ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  การเล่น     การยินดี     ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย     อนึ่ง   ความรักที่ยิ่งใหญ่
ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย        บุคคลเมื่อเกลียดชังความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็น

ที่รัก  พึงเที่ยวไปผู้เดียว    เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย       ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน   ยินดีด้วยปัจจัยตามมี
ตามได้  ครอบงำเสียซึ่งอันตราย    ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ยาก  อนึ่ง  คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์
ได้ยาก     บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือน

นอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  นักปราชญ์ละเหตุ        อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์      ดุจต้นทองหลางมีใบ
ร่วงหล่น      ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น  พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
สุด  ผู้เสมอกัน     กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว    พึงเป็น

ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ       เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง       ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จ
ด้วยดีแล้ว    กระทบกันอยู่ในข้อมือ  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง    หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ
เยื่อใย  พึงมีได้อย่างนี้     บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร  มีรสอร่อยเป็นที่รื่นรมย์ใจ   ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ
บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว   พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลเห็นภัย คือ  จัญไร   ฝี   อุปัทวะโรค   ลูกศร  และความน่ากลัวนี้   ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว      พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง  คือ  หนาว   ร้อน   หิว   ระหาย   ลม
แดด    เหลือบและสัตว์เลื่อยคลานแล้ว    พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด        เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน
ตระกูลปทุม     มีขันธ์เกิดขึ้นแล้ว    ละโขลงอยู่ในป่าตามอภิรมย์  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า
การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยคณะจะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัย   นั้นไม่

เป็นฐานะที่จะมีได้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด   ฉะนั้น.
 
  • ·  เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้วถึงความเป็นผู้เที่ยง    ได้มรรคแล้ว  เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว  อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้ไม่โลภ   ไม่หลอกลวง   ไม่มีความกระหาย  ไม่ลบหลู่  มีโมหะดุจน้ำฝาด
อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก  ครอบงำโลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก    ไม่พึงเสพด้วยตนเอง        ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความ
ฉิบหายมิใช่ประโยชน์     ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ  ผู้ข้องอยู่   ผู้ประมาท   พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตทรงธรรม    ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม  มีปฏิภาณ  รู้จัก
ประโยชน์ ทั้งหลาย  กำจัดความสงสัยได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่พอใจการเล่น  ความยินดีและกามสุขในโลกแล้ว  ไม่เพ่งเล็งอยู่   เว้น
จากฐานะแห่งการประดับ   มีปกติกล่าวคำสัตย์    พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา  มารดาทรัพย์  ข้าวเปลือก   พวกพ้อง    และกามซึ่ง
ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บัณฑิตทราบว่าความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้มีสุขน้อย มีความ
ยินดีน้อย  มีทุกข์มาก   ดุจหัวฝี   ดังนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสียเหมือนปลาทำลายข่าย    เหมือนไฟไม่หวน
กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว        พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า  มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว    มีใจอันรักษา
แล้ว    ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว        และอันไฟคือกิเลสไม่แผดเผาอยู่      พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์       ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ
ออกบวชเป็นบรรพชิต        พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย   ไม่โลเล  ไม่เลี้ยงคนอื่น   มีปกติเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอก   ผู้มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล  พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต  ๕ อย่าง    บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว     ผู้อัน
ทิฏฐิไม่อาศัย  ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละสุข     ทุกข์      โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้  ได้อุเบกขาและสมถะ
อันบริสุทธิ์แล้ว   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์   มีจิตไม่หดหู่   มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้านมีความบากบั่นมั่นคงถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังกาย   และกำลังญาณ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรม      อันสมควรเป็นนิตย์ใน
ธรรมทั้งหลาย          พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย   พึงเที่ยวไปผู้เดียว   เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท       ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้
มีการสดับ    มีสติ    มีธรรมอันกำหนดรู้แล้วเป็นผู้เที่ยง   มีความเพียร  พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น  เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง
ไม่ข้องอยู่    ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น   เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย   ไม่ติด

อยู่ด้วยความยินดี และความโลภ      เหมือนดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ  พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด  เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด         เหมือน
ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ    มุทิตาวิมุตติ      และอุเบกขาวิมุตติ
ในกาลอันควร        ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงพึงเที่ยวไปผู้เดียว  เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.
 
  • ·  บุคคลละราคะ  โทสะ และโมหะแล้วทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว       ไม่สะดุ้งใน
เวลาสิ้นชีวิต      พึงเที่ยวไปผู้เดียว     เหมือนนอแรด  ฉะนั้น.